วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559

10. Illustrator คืออะไร


โปรแกรม Adobe Illustrator

จุดเริ่มต้นของนักออกแบบ และสร้างงานกราฟฟิกบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เราจะเริ่มต้นกันที่การเรียนรู้กับชนิดของภาพกราฟฟิก และโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างงานกราฟฟิก ตลอดจนการจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งโปรแกรมสำหรับงานกราฟฟิกเหล่านั้นที่เราต้องการ

Illustrator คืออะไร
โปรแกรมพื้นฐานที่นักออกแบบทุกคนต้องเรียนรู้ในการสร้างงานกราฟิกมี 2 ชนิด คือโปรแกรมประเภทวาดภาพ และโปรแกรมประเภทตกแต่งภาพ

Illustrator คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้น หรือที่เรียกว่า Vector Graphic จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในการออกแบบระดับสากลสามารถทำงานออกแบบต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เว็บ และภาพเคลื่อนไหวตลอดจนการสร้างภาพเพื่อใช้เป็นภาพประกอบในการทำงานอื่นๆ เช่น การ์ตูน ภาพประกอบหนังสือ เป็นต้น
การประมวลผลภาพกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์
ในความเป็นจริงแล้วภาพกราฟฟิกที่เก็บในคอมพิวเตอร์นั้น จะมีวิธีการประมวลผลภาพ 2แบบแตกต่างกันไปตามแต่ละโปรแกรมดังนี้ คือ
1. การประมวลผลแบบอาศัยการคำนวณทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างเช่น รูปล้อรถจักรยาน ถ้าเป็นการเก็บแบบเว็กเตอร์ เครื่องจะเก็บข้อมูลที่เป็นสูตรทางคณิตศาสตร์แต่สามารถอธิบายได้คือ รูปล้อจักรยาน คือเส้นวงกลมที่เกิดจากการวัดความห่างจากจุดศูนย์กลางจุดหนึ่งไปยังบริเวณรอบๆ ด้วยระยะห่างทีเท่ากัน โดยมีสีและตำแหน่งของสีที่แน่นอน ฉะนั้นไม่ว่าเราจะมีการเคลื่อนย้ายที่หรือย่อขยายขนาดของภาพ ภาพจะไม่เสียรูปทรงในเชิงเลขาคณิต เช่น โปรแกรม Illustrator ใช้วิธีนี้ในการเก็บ เป็นต้น
ตัวอย่างงานกราฟฟิกของภาพแบบเวกเตอร์งานกราฟฟิกในแบบเวกเตอร์นี้จะเป็นลักษณะของภาพลายเส้น ซึ่งงานเหล่านี้จะเน้นถึงความ คมชัดของเส้นเป็นหลัก เช่น ภาพโลโก้ ตราบริษัท และภาพลายเส้นแบบคลิปอาร์ต โปรแกรมเหล่านี้ได้แก่ Illustrator, CorelDraw และ Freehandเป็นต้น
2. การเก็บและแสดงผลแบบบิตแม็พ [ Bitmap ]
เป็นการประมวลผลแบบอาศัยการอ่านค่าสีในแต่ละพิกเซล ซึ่งเหมาะกับภาพที่มีโทนสีที่ใกล้เคียงกัน เช่น ภาพถ่าย โปรแกรม Photoshopใช้วิธีนี้ การประมวลผลแบบบิตแม็พนี้เราเรียกอีกอย่างว่า Raser image เป็นการเก็บข้อมูลดิบ คือค่า 0 และ 1 ใช้การแสดงผลเป็นพิกเซล โดยแต่ละพิกเซลจะมีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่ง
ตัวอย่างงานกราฟฟิกของภาพแบบบิตแม็พ งานกราฟฟิกในแบบบิตแม็พนี้จะเป็นลักษณะของภาพ ที่ต้องการปรับแต่งรายละเอียดของสีเป็นหลัก เช่น การซ้อนภาพและการตกแต่งภาพให้เหนือ
จริง โปรแกรมเหล่านี้ได้แก่ Photoshop, Corel Photo-paint และ Fireworks เป็นต้น
Illustrator ทำอะไรได้บ้าง


>>งานสิ่งพิมพ์
ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา โบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่าเกือบทุกสิ่งพิมพ์ที่
ต้องการความคมชัด


>>งานออกแบบทางกราฟฟิก
การสร้างภาพสามมิติ การออกแบบปกหนังสือ การออกแบบสกรีน CD-ROM และการออก
แบบการ์ดอวยพร ฯลฯ


>>งานทางด้านการ์ตูน
ในการสร้างภาพการ์ตูนต่างๆนั้น โปรแกรม Illustrator ได้เข้ามามีบทบาทและช่วยในการ
วาดรูปได้เป็นอย่างดี


>>งานเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
ใช้สร้างภาพตกแต่งเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็น Background หรือปุ่มตอบโต้ แถบหัวเรื่องตลอดจน
ภาพประกอบต่างๆ ที่ปรากฎบนหน้าเว็บ

ที่มา  http://pycknokmiu.blogspot.com/2013/09/adobe-illustrator.html

9. ส่วนประกอบของ Illustrator CS3


ส่วนประกอบของ Illustrator CS3



     1 Menu Bar เป็นที่อยู่ของชุดคำสั่งลักษณะต่างๆ ทุกรูปแบบ ตั้งแต่การเปิด-ปิด สร้างเอกสารใหม่ แก้ไข
เปลี่ยนแปลง บันทึกไฟล์ ไปจนถึงคำสั่งสำหรับพิมพ์ และวาดภาพทั้งหมด
    2 คอนโทล พาเนล ( Control Panel ) เป็นส่วนที่ใช้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือที่เลือกทำงานอยู่
ซึ่งรายละเอียดของคอนโทรลพาเนลจะเปลี่ยนไปตามการเลือกใช้เครื่องมือ เช่น เลือกเครื่องมือเพื่อพิมพ์ตัวอักษรก็จะแสดงคุณสมบัติของการจัดการตัวอักษร
    3 กล่องเครื่องมือ ( Tools box ) เป็นกล่องที่เก็บรวบรวมเครื่องมือสำหรับการทำงาน โดยจะแบ่งออก
ตามลักษณะการทำงานโดยสามารถเรียกใช้จากการกดที่ปุ่มสามเหลี่ยมด้านมุมขวาล่าง เช่น เครื่องมือกลุ่มShape ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องมือวาดรูปทรงแบบสี่เหลี่ยม, สี่เหลี่ยมมุมโค้ง, และวงกลม เป็นต้น
การเปิด/ปิดกล่องเครื่องมือ ใช้คำสั่ง Windows > Tools
    4 พาเลท ( Palate ) กรอบหน้าต่างย่อย ทีมีคำสั่งและเครื่องมือในการจัดการ ตรวจสอบค่าและปรับแต่ง
องค์ประกอบต่างๆของวัตถุ เครื่องมือเหล่านี้จะถูกจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ การเปิดใช้งานพาเลท
ใช้คำสั่ง Windows > ตามด้วยชื่อพาเลทที่ต้องการใช้งาน
     5 พื้นที่การทำงาน ( Artboard ) มีลักษณะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีดำใช้เป็นพื้นที่ในการสร้างและปรับแต่งภาพจะมีขนาดตามที่กำหนดไว้ตอนที่เราสร้างไฟล์
     6 แถบสถานะ ( Status ) มีหน้าที่ในการย่อขยายและแสดงอัตราส่วนในการแสดงภาพ
ที่มา https://sites.google.com/site/illustratorpal/home-1

8. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอ

วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว)ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆอย่างไรก็ตามปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือการสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมากเนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อนการนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลงซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย (Multimedia System)
ชนิดของวิดีโอ
วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. วิดีโออะนาลอก(AnalogVideo) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่น) สำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
2. วีดีโอดิจิตอล (DigitalVideo) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลคือ 0 กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้นจะแตกต่างจากวีดีโออนาลอกเพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับการพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดียเนื่องจากสัญญาณดิจิตอสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ซีดีรอมดีวีดีหรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่นๆและสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น
การนำวีดีโอไปใช้งาน


วีดีโอสามารถนำไปใช้งานได้ในหลาย ๆ ลักษณะซึ่งสามารถแสดงดังต่อไปนี้


- ด้านบันเทิง (Video Entertainment) สามารถบันทึกมิวสิกวีดีโอ รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ บันทึกการแสดงสด หรือในงานเลี้ยงสังสรรต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาชมได้อีกครั้ง
- ด้านการนำเสนองาน (Video Presentation) สำหรับแนะนำสินค้า กิจกรรมด้านต่าง ๆ
- ด้านงานสะสมวีดีโอ (Video Album) สามารถผลิต Video ที่ใช้เพื่อบันทึกภาพแห่งความทรงจำ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำร่วมกันขณะที่เราศึกษาอยู
- ด้านการศึกษา (Education Program) ผลิตสื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ในรูปแบบของวีดีโอเทป ซีดีรอม หรือภาพนิ่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ทั้งในชั้นเรียน และทางออนไลน์






ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า “แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น” มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “สัญญาณอนาลอก” ประกอบด้วยข้อมูลสี 3 ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็กการบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวเทปวีดีโอ” ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วยโดยอาศัย NTSC,PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้


มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลกและได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมาเรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
- National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐมาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรชเป็น 60 Halt-Frame (Interlace)ต่อวินาทีแต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
- Phase Alternate Line (PAL) เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
- Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลางและประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาทีซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิตวิธีการแพร่ภาพออกอากาศและจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนักเครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720


การผสมผสานระหว่างคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์
ปัญหาหนึ่งของความไม่ชัดเจนระหว่างวีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ ก็คือยังเข้าใจผิดว่าทั้งสองสิ่งนี้มีลักษณะที่เหมือนกันทั้งที่จริงแล้วพื้นฐานของวีดีโอบนโทรทัศน์เป็นเทคโนโลยีของสัญญาณอนาลอก สำหรับเป็นมาตรฐานการแพร่สัญญาณไปสู่ครัวเรือน แต่คอมพิวเตอร์วีดีโออยู่บนพื้นฐานของดิจิตอลเทคโนโลยี ทั้งสองเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปสู่ระบบDVT และ HDTV ร่วมกันในอนาคต
ระบบการซ้อนภาพวีดีโอ (Video Overlay System) หลังจากพัฒนาวีดีโอและวีดีโอซีดี เพื่อแสดงผลบนโทรทัศน์ได้ จึงได้มีการนำวีดีโอและคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกันเรียกว่า “Computer-Based Training” (CBT) ซึ่งจะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมผ่านสายสัญญาณไปบังคับการทำงานของเครื่องเล่นวีดีโอแล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ของผู้ผลิตงานการแสดงภาพวีดีโอบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลและจะต้องติดการ์ดแสดงผลหรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยนอกจากนี้ปัจจุบันประสิทธิภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นจนสามารถแสดงผลได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งคุ้มค่ากับงบประมาณที่เพิ่มขึ้น
ความแตกต่างระหว่างคอมพิวเตอร์วีดีโอและโทรทัศน์วีดีโอปกติขนาดจอภาพของคอมพิวเตอร์จะใช้อัตราส่วน 4:3เท่ากับกับจอภาพโทรทัศน์แต่การสร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอนจะใช้ 480 เส้นไม่เท่ากับจอภาพโทรทัศน์และอัตราการรีเฟรชเป็น 66.67Hz เมื่อส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดจอภาพโทรทัศน์ ขอบของภาพจะขยายเรียบไปตามขอบโค้งของขนาดจอภาพโทรทัศน์ (Overscan) โดยตรงข้ามกับขนาดจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแสดงภาพที่มีขนาดเล็กกว่าภาพบนจอโทรทัศน์ (Underscan) ดังนั้นเมื่อแปลงภาพจากจอคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ขนาดของภาพจะไม่เต็มจอภาพโทรทัศน์ นอกจากนี้สีของจอคอมพิวเตอร์จะใช้องค์ประกอบสี RGB ด้วยการสร้างภาพเป็นดิจิตอลวีดีโอที่มีความชัดเจนมากกว่าจอโทรทัศน์ที่จะต้องทำการแปลงสัญญาณภาพเป็นอนาลอกวีดีโอ เพื่อแสดงผลออกมาบนจอภาพ ดังนั้นเมื่อจะสร้างมัลติมีเดียด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องแสดงภาพด้วยองค์ประกอบสี RGB หรือแปลงสัญญาณก่อนที่จะแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์ เช่น เกมส์เพลยสเตชัน และ VCD


การผลิตวีดีโอ
1. การวางแผน เป็นการกำหนดเรื่องราวที่จะถ่ายทำว่าต้องการถ่ายทำสิ่งใดและกำหนดความยาวของเรื่องเพื่อที่จะได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม
2. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตต้องการจะถ่ายทำเพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นเก็บไว้
3. แคปเชอร์ (Capture) เป็นการถ่ายโอนข้อมูลที่เป็นภาพอย่างเดียว หรือทั้งภาพและเสียงทีได้จากเทปวีดีโอ (VHS) มาบันทึกลงใน Harddisk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการจัดเก็บเป็นไฟล์ .AVI หลาย ๆ ไฟล์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ และสามารถนำไฟล์ .AVI นี้ไปใช้ในการตัดต่อภาพได้
4.การตัดต่อ เป็นการนำไฟล์หลายๆไฟล์ที่จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มาเรียงต่อกันโดยทำการเลือกภาพและเสียงที่ต้องการ จากนั้นจึงทำการตกแต่งภาพโดยการเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ เช่น สีสัน ความสวยงามข้อความเพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วในการแสดงภาพเคลื่อนไหวลดเหลี่ยมของภาพหรือจะทำการปรับเปลี่ยนความยาวของข้อมูลก็ได้เช่นการตัดต่อวีดีโอด้วย AdobePremiere ปัจจุบันการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้งานที่มีคุณภาพดีกว่าเนื่องจากสามารถเพิ่มเทคนิคพิเศษปรับแต่งภาพให้สวยงามได้จึงได้รับความนิยมแต่ผู้ที่ต้องการตัดต่ออย่างมืออาชีพต้องไม่ลืมว่างบประมาณในการเตรียมอุปกรณ์ตัดต่อนั้นมีราคาแพงหากจะทำการตัดต่อเพื่อเพิ่มความรู้ก็ควรใช้อุปกรณ์ที่มีราคาเหมาะกับงานที่จะทำเพื่อป้องกันความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์
5. การจัดทำสื่อประสม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการตัดต่อวีดีโอด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทำการเก็บบันทึกให้อยู่ในรูปของไฟล์ต่าง ๆ เทปวีดีโอ แผ่นวีซีดี หรือแผ่นดีวีดี ซึ่งเป็นสื่อที่นิยมมากในปัจจุบัน เพื่อจะได้เก็บผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ หรือนำออกมาเพื่อเผยแพร่
การบีบอัดวีดีโอ
เป็นการจัดเก็บข้อมูลภาพและเสียงของไฟล์ต้นฉบับให้มีขนาดลดน้อยลงแต่ยังคงมีปริมาณของข้อมูลเท่าเดิม แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าไฟล์อาจจะมีคุณภาพลดน้อยลงไปตามขนาดที่บีบอัด แต่เนื่องจากการบีบอัดข้อมูลมีประโยชน์เป็นอย่างมากจึงทำให้มีการพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ ซึ่งสามารถแสดงได้ดังต่อไปนี้
- เจเพ็ก (JPEG) : เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูล เนื่องจากมีความต้องการที่จะย่อภาพสีโดยให้คงรายละเอียดเดิมไว้ให้มากที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์จะทำการสุ่มตัวอย่างของจุดภาพในส่วนต่างๆก่อนที่จะบีบอัดข้อมูลโดยตรวจสอบพื้นที่ว่าจะมีสีอะไรอยู่มากที่สุดจากนั้นจะยุบพื้นที่ให้เหลือเพียงสีที่ต้องการเพียงหนึ่งพิกเซล ซึ่ง JPEG จะถูกนำมาใช้กับภาพนิ่งที่อัตราส่วนการบีบประมาณ 25:1, 40:1 จนถึง 100:1
Motion – JPEG หรือ M – JPEG : เป็นมาตรฐานการบีบอัดข้อมูลที่สามารถบีบอัดและขยายสัญญาณได้ตั้งแต่ 12:1, 5:1 และ 2:1 ทำให้ภาพที่ได้ออกมามีคุณภาพและเป็นที่น่าพอใจ สำหรับกลุ่มผู้ผลิตงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก จึงเป็นระบบที่นิยมใช้ในการ์ตัดต่อ และการ์ดแคปเชอร์ (Capture Card) แบบต่าง แต่ในปัจจุบันเริ่มความนิยมเนื่องจากระบบดิจิตอลของกล้องดิจิตอลวีดีโอเข้ามาแทนที่
CODEC: เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูลซึ่งสามารถนำไปใช้กับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้โดยส่วนมาก CODEC จะนิยมใช้กันในบีบอัดแบบ MPEG, Indeo และ Cinepak
เอ็มเพ็ก (MPEG : Moving Picture Experts Group) : เป็นมาตรฐานการบีบอัดสัญญาณภาพและเสียง โดยใช้ระบบDCT ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กับระบบวีดีโอคุณภาพสูงทั่วไป จะมีความคล้ายคลึงกับการบีบอัดข้อมูลแบบ JPEG แต่จะลดจำนวนข้อมูลที่ซ้ำกันของภาพต่อไปด้วยการบีบอัดข้อมูลแบบ MPEG นี้เป็นแบบไม่สมมาตรเนื่องจากขั้นตอนในการเข้ารหัสสัญญาณวีดีโอนานกว่าขั้นตอนการถอดรหัสข้อมูล โดย MPEG ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องดังนี้
- MPEG-1 ใช้กับวีดีโอที่ดูตามบ้าน เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ VHS ซึ่งไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดข้อมูลแบบนี้สามารถใช้เครื่องเล่น CD ทั่วไป อ่านหรือเขียนข้อมูลได้ แต่ยังให้ภาพที่ค่อนข้างหยาบ สัญญาณสีแต่ละจุดไม่สามารถกำหนดเป็นสีที่ถูกต้องได้ถ้าเป็นระบบที่ใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ช่วยในการถอดรหัสจะแสดงภาพที่ชัดเจนได้เต็มจอภาพ แต่ถ้าใช้ซอฟต์แวร์อย่างเดียวจะแสดงภาพที่ชัดเจนได้เพียงครึ่งจอภาพ
- MPEG-2 เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์โดยเฉพาะการบีบอัดข้อมูลแบบนี้ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะคำนวณผลเพื่อแทนค่าจุดสีต่างๆภาพจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆและจะคำนวณทีละหลายๆภาพ เรียกว่า “GOP (Group of Picture) “ ซึ่งเป็นการมองภาพครั้งละ 8-24 ภาพโดยจะดูจากภาพที่หนึ่งของ GOP เป็นหลัก จากนั้นจะทำการเข้ารหัสภาพ แล้วมองภาพถัดไปว่ามีความแตกต่างจากภาพแรกที่จุดใด จากนั้นจะทำการเปรียบเทียบและเก็บเฉพาะที่แตกต่างของภาพไว้ในเฟรมนั้นส่วนภาพต่อไปก็ทำการเปรียบเทียบกับภาพติดกัน แล้วเก็บส่วนต่างไว้เช่นกันทำให้สามารถลดจำนวนข้อมูลที่ต้องการเก็บ และเก็บบันทึกข้อมูลที่ต้องการถอดรหัสได้
-MPEG-3 เพื่อใช้งานกับโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูงหรือเรียกว่า HDTV (High–Definition Television) เป็นโทรทัศน์ดิจิตอลชนิดใหม่ที่ใช้ในสหรัฐแต่ไม่ได้นำมาใช้งานเนื่องจากไม่ประสบความสำเร็จ
-MPEG-4 เป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับ QuickTime เพื่อใช้งานทางด้านมัลติมีเดียที่มีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ต่ำ ซึ่งสามารถรวมภาพ เสียง และส่วนประกอบอื่นที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นได้ ที่สำคัญ MPEG-4 ได้ถูกออกแบบให้มีความสามารถในเชิงโต้ตอบกับวัตถุต่าง ๆ ในภาพได้
-MPEG-7 เป็นตัวเชื่อมรายละเอียดเนื้อหามัลติมีเดียเข้าด้วยกัน (Multimedia Content Description Interface) โดยมีจุดหมายที่จะสร้างมาตรฐานการอธิบายข้อมูลข่าวสารของมัลติมีเดียเพื่อใช้ในการสนับสนุนความหมายของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ บนสื่อ
- MicrosoftVideo: ทำงานในขั้นตอนการบีบอัดข้อมูลที่อัตราส่วนการบีบอัดต่ำได้อย่างรวดเร็วเหมาะสำหรับภาพที่มีความเคลื่อนไหวมาก ๆ แต่ความละเอียดต่ำ (240x180 พิกเซล)
-Microsoft RLE : ใช้อัตราส่วนในการบีบอัดต่ำ เหมาะสำหรับภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มีความชัดเจน แต่ไม่เหมาะกับงานวีดีโอ
-DV Format : มีการสร้างระบบการเข้ารหัสเพื่อบันทึกเป็นสัญญาณดิจิตอลโดยตรง เพื่อใช้กับกล้องถ่ายวีดีโอแบบดิจิตอล ซึ่งเรียกการเข้ารหัสแบบนี้ว่า “DV Format” โดยสัญญาณที่ถูกบันทึกจะผ่านการบีบอัดข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งผ่านเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้โดยตรงไม่มีปัญหาการสูญเสียความคมชัดของภาพ แต่ข้อมูลภาพดิจิตอลวีดีโอค่อนข้างใหญ่การส่งผ่านข้อมูลจะใช้เวลานานจึงมีการพัฒนมาตรฐาน IEEE หรือที่เรียกว่า “FireWire” มารองรับการส่งข้อมูลแบบ DV จนกระทั่งได้กลายเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสำหรับกล้องดิจิตอลวีดีโอในที่สุด
-DivX: กลุ่มโปรแกรมเมอร์ใต้ดินได้ร่วมกันพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ซึ่งสามารถลดข้อมูลเหลือเพียง10-20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณข้อมูลเดิม และยังสามารถเปิดชมภาพยนตร์ด้วยโปรแกรมธรรมดาได้อีกด
-DVI: เป็นเทคโนโลยี CODEC ที่ถูกพัฒนาซึ่งมีมาตรฐาน NTST ในการแสดงภาพที่มีอัตรา 30เฟรมต่อวินาที สามารถบันทึกและแสดงภาพวีดีโอที่มีการเคลื่อนไหวที่สมจริงเหมือนในโทรทัศน์ แต่บางครั้งมักจะเกิดปัญหาเพราะเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไม่เพียงพอเนื่องจากสามารถบันทึกข้อมูลได้ในปริมาณมาก ดังนั้น DVI จึงแก้ปัญหานี้โดยการบีบอัดข้อมูลและคลายข้อมูล DVI ด้วยอุปกรณ์ที่เป็นฮารด์แวร์ทั้งหมด
-Cinepak: เป็นเทคโนโลยีการบีบอัดและการคลายข้อมูลสามารถส่งข้อมูลวีดีโอขนาด 24 บิตบนพื้นที่ขนาด 1 ต่อ 4 ของจอภาพวินโดว์ซึ่งนิยมใช้ในรูปแบบของไฟล์วีดีโอที่เป็น *.avi โดยสามารถบีบอัดข้อมูลได้ดีแต่มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลานานในการบีบอัดข้อมูล
-Indeo: มีพื้นฐานมาจาก DVI ที่เป็นฮาร์ดแวร์ล้วน ๆ ส่วนการเข้าและถอดรหัสของ Indeo จะเป็นซอฟต์แวร์ทั้งหมด โดยนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการประชุมด้วยภาพ


ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการผลิตวีดีโอ
- Macromedia Flash MX โปรแกรมสำหรับสร้างงานอนิเมชั่น มัลติมีเดีย งานอินเตอร์เอคทีฟ และรองรับงานออนไลน์ต่าง ๆ
- Ulead Video Studio เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Capture ภาพที่นำสัญญาณผ่านเข้ามาสามารถตัดต่อวีดีโอให้อยู่ในฟอร์แมต MPEG I, MPEG II, DV และ VCD ได้
- Adobe Photoshop CS โปรแกรมสำหรับตกแต่งรูปภาพ
- Windows Movie Maker โปรแกรมสำหรับใช้ในการตัดต่อภาพ เป็นมัลติมีเดียสตรีมมิ่งทั้งภาพและเสียงที่ได้จากการตัดต่อวีดีโอ และสามารถนำเข้าไฟล์ไม่ว่าจะเป็น *.avi, *.afs, *.MPEG, *.MPG, *.MPA เป็นต้น
- VirtualDub เป็นโปรแกรมที่ช่วยใส่ Feeling ต่าง ๆ ให้แก่ภาพ ช่วยในการลดเม็ดสีที่คล้ายเม็ดหิมะที่เกิดจากการตัดต่อภาพจาก TV หรือ TV จูนเนอร์ และสามารถทำการบีบอัดข้อมูลได้
-TMPGEnc หรือทีเอ็มเพ็ค 2 เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดัดแปลงไฟล์ VDO แบบ *.avi ให้เป็น *.MPEG ได้สามารถใช้โปรแกรม TMPGEnc ร่วมกับ VirtualDub ได้
- Cyberlink Videolive Mail เป็นโปรแกรมที่สามารถปรับแต่งภาพ และสนับสนุนการรับชมรายการโทรทัศน์ วีดีโอ และบันทึกรายการโทรทัศน์หรือวีดีโอที่รับชมได้
- Flash เป็นโปรแกรมสำหรับพัฒนางานรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานวีดีโอ งานมัลติมีเดีย งานเว็บแอพพลิเคชั่น ระบบE-Learning และระบบแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่
รูปแบบการบันทึกข้อมูล
ภาพวีดีโอที่ได้จาการบันทึกข้อมูลด้วยกล้องวีดีโอหรือวีดีโอคลิปที่ทำการบันทึกด้วยเครื่องบันทึก สามารถนำเข้าภาพได้เพียงบางส่วนเท่านั้นแต่หากทำการบันทึกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถบันทึกข้อมูลได้หลายรูปแบบดังนี้
S-VHS (Super Video Home System) เป็นรูปแบบวีดีโอที่มีคุณภาพ มีความละเอียดสูงกว่า VHS เนื่องจากข้อมูลสีและความสว่าง สามารถจะแยกการบันทึกออกเป็น 2 แทร็กได้ เพื่อให้ง่ายต่อการปรับปรุงคุณภาพของการแสดงผลให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแพร่ภาพความถี่ต่ำได้อีกด้วย โดยปกติแล้วเทป S-VHS ต้องใช้กับเครื่องเล่น S-VHS จะทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเล่นกับโทรทัศน์ที่มีความละเอียดสูง และหากผู้ผลิตต้องการมัลติมีเดียที่แพร่ภาพผ่านสถานีโทรทัศน์ก็ไม่ควรเลือกการจัดเก็บรูปแบบนี้
YUV หรือ YUV 4:2:2 เป็นรูปแบบของสัญญาณวีดีโอพื้นฐานโดยที่ Y คือ ค่าความสว่างม U คือค่าสีแดงลบค่าความสว่าง V คือค่าสีน้ำเงินลบค่าความสว่าง (ขนาดของข้อมูลเล็กกว่า 3 เท่า) ในการเก็บบันทึกและการแสดงผลวีดีโอลงบนจอภาพนั้น จะต้องแปลงข้อมูล YUV ให้เป็น RGB ก่อนเสมอ


คุณภาพของวีดีโอ
การวัดคุณภาพของวีดีโอสามารถวัดได้จาก อัตราเฟรม และความละเอียดของภาพ อัตราเฟรม (Frame Rate) คืออัตราความถี่ในการแสดงภาพจาก Timeline ออกทางหน้าจออัตราที่เฟรมถูกแสดงในวีดีโอมีหน่วยเป็นเฟรมต่อวินาที (FPS ย่อมาจาก Frame Per Second เป็นหน่วยวัดปริมาณข้อมูลที่ใช้ในการเก็บบันทึกและแสดงวีดีโอ นอกจากนี้ยังสามารถแสดงเฟรมให้มีความต่อเนื่องในเวลาอันรวดเร็ว) โดยผู้จัดทำสามารถที่จะกำหนดอัตราเฟรมเองได้เช่น เฟรมของภาพยนตร์เท่ากับ 24 fps อัตราเฟรมโทรทัศน์ระบบPAL เท่ากับ 25 fps และอัตราเฟรมโทรทัศน์ระบบ NTSC เท่ากับ 30 fps
ความละเอียด (Resolution) หมายถึง ความคมชัดของภาพที่แสดงผลออกทางจอภาพ ความละเอียดของจอภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดทั้งหมดที่เกิดบนจอ จุดต่าง ๆ นี้ เรียกว่า พิกเซล (Pixel) นอกจากนี้ภาพที่มีขนาดเท่ากันบางครั้งก็อาจจะมีความละเอียดที่ต่างกันได้เนื่องจากจำนวนพิกเซลต่างกันจะส่งผลให้ขนาดของพิกเซลต่างกันด้วยยิ่งความละเอียดของจอภาพสูงจะยิ่งทำให้มองเห็นพื้นที่ใช้งานบนจอกว้างมากขึ้นแต่จะทำให้มีขนาดเล็กลง


การตัดต่อวิดีโอด้วย Adobe Premiere Pro
Adobe Premiere Pro เป็นซอฟแวร์โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและบันทึกตัดต่อเสียงที่แพร่หลายที่สุด สามารถผลิตผลงานได้ในระดับมืออาชีพ จนถึงการนาไปออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ (Broadcasting System) มีการทางานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก สามารถจับภาพและเสียงมาวาง (Drag & Drop) ลงบนไทม์ไลน์ (Time line) เคลื่อนย้ายได้อิสระโดยไม่จากัดจานวนครั้ง และไม่มีการสูญเสียของสัญญาณภาพและเสียง เพียงผู้ผลิตรายการ ต้องมีทักษะที่ดีในการใช้โปรแกรมกับความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น


ประโยชน์ของงานวิดีโอ
1. แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
2. บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ งานวันเกิดงานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
3. การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอโดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
4. การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
5. วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
ที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวิดีโอมากขึ้น และได้รู้ว่าการทำวิดีโอไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากอย่างที่คิดจากประสบการณ์ ในการทำงานวิดีโอ สรุปได้ว่าวิดีโอที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินลงทุนที่ใช้ แต่ขึ้นอยู่กับความประณีต และความคิดสร้างสรรค์


แนวคิดในการสร้างวิดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไขภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
1. เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ การเขียนStoryboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริงในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......(ดูรายละเอียดการเขียน Storyboard ท้ายใบความรู้ที่ 1)
2. เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี
3. ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
4. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVDหรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต




อุปกรณ์ในการตัดต่อวิดีโอ

1. เครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่จำเป็นต้องมี ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทำให้เราสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัด สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดต่อควรมีสเป็คเครื่องขั้นต่ำ ดังนี้
* ซีพียู แนะนำ Pentium 4 ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป
* แรมหรือหน่วยความจำ ขนาด 512 MB ขึ้นไป
* ฮาร์ดดิสก์ 80 GB ซึ่งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์
มีความจุ ฮาร์ดดิสก์มากพออยู่แล้ว
* ระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ใช้ Windows XP/2000


2. กล้องถ่ายวิดีโอ
กล้องถ่ายวิดีโอ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ แต่ในที่จะ
กล่าวถึงการใช้งานเฉพาะกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอล หรือ
กล้องดิจิตอลแบบ MiniDV




3. Capture Card (การ์ดจับภาพวิดีโอ)
เนื่องจากเราไม่สามารถนำภาพวิดีโอที่อยู่ ในกล้องวิดีโอมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ที่เรียกว่าการ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ช่วยเปลี่ยนเสมือนเป็นสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูล จากกล้องมายังเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน


4. ไดรว์สำหรับเขียนแผ่น CD หรือ DVD
อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องมีหากเราต้องการสร้างงานให้อยู่ในรูปแบบVCD หรือ DVD ซึ่งในปัจจุบันก็หาซื้อได้ไม่ยาก ราคาก็ไม่แพง




5. แผ่น CD สำหรับบันทึกข้อมูล

แผ่น CD-R (CD-ReWrite หรือ CD Record) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลต่างๆ โปรแกรมเพลง รูปภาพ และภาพยนตร์ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวจนกว่าจะเต็มแผ่น





รูปแบบของแผ่นดีวีดี

แผ่น CD-RW (CD-Write)
แผ่น CD-RW (CD-Write) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไปเช่นเดียวกับแผ่น CD-R แต่มีความพิเศษกว่าตรงที่สามารถที่จะเขียนหรือบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลที่เขียนไปแล้วได้


ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดรว์
ดีวีดีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ (DVD+-RW drive) ก็คล้ายกับซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์นั่นเอง คือสามารถอ่านและขียนแผ่นดีวีดีแบบพิเศษ คือแผ่น DVD+-R และแผ่น DVD+-RW ได้


แผ่นดีวีดีอาร์
ดีวีดีอาร์ (DVD+R : Digital Versatile Disc-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่ผู้ใช้สามารถบันทึก หรือเขียนข้อมูลลงไปได้ครั้งเดียว จนกว่าจะเต็มแผ่น มีให้เลือกแบบด้านเดียว และ 2 ด้าน ในความจุด้านละ 4.7 GB แผ่น ประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็น2 มาตรฐาน (จาก 2 ค่าย) คือ แผ่น DVD-R DVD+R


แผ่นดีวีดีอาร์ดับบลิว
ดีวีดีอาร์ดับบลิว (DVD+RW : Digital Versatile Disc-Re-recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่ใช้เขียน และลบข้อมูลได้หลายครั้งมีความจุ 4.7 GB
ที่มา  http://sittichai25351991.blogspot.com/2014/03/blog-post_4111.html

7. เทคนิคมุมกล้องกับการถ่ายทำหนังสั้น


เทคนิคมุมกล้องกับการถ่ายทำหนังสั้น

เทคนิคมุมกล้อง
การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้ เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
· ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา
· ภาพมุมต่ำ การถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในต่ำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
· การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในต่ำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ


เทคนิคการซูมและการโพกัส
1.ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
2.หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
3.อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูรายละเอียดของเหตุการณ์ เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ พูดง่ายๆ จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
4.ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ จุดนี้จะช่วยให้วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล


การแพนกล้อง
การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะตัดต่อภาพ โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวามไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆจะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ


การบันทึกเป็นช็อต
“ช็อต” คือการเริ่มบันทึก เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต การถ่ายเป็นช็อคไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก คือไม่ควรเกิน 5วินาทีต่อ 1 ช็อต


วิธีการบันทึกเป็นช็อต
การถ่ายเป็นช็อตนี้ จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆคือนิ่งๆเข้าไว้ และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ


รูปแบบการบันทึกเป็นช็อต
Shot ในความหมายของระยะการถ่ายทำภาพยนตร์อาจแบ่งจากลักษณะที่ใช้ในการถ่ายทำได้ดังนี้
· 1. ELS หรือ Extreme Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกลที่สุด เช่นเห็นเมืองทั้งเมือง ผืนป่าทั้งป่า หรือทะเลทรายกว้างสุดลูกหูลูกตา ซึ่งเป็นช็อตที่มักพบมากในหนังประเภท Epic หรือหนังมหากาพย์ที่เล่าเรื่องราวใหญ่โต จึงมีฉากที่แสดงความอลังการ อย่างไรก็ตามในหนังเพื่อศิลปะหลายเรื่องการถ่ายภาพในระยะนี้ก็ใช้เพื่อวัตถุ ประสงค์อื่นๆ เช่น ความไม่แน่นอน น่าสงสัย ความโดดเดี่ยว เปลี่ยวเหงา เช่นหนังของ มิเกลแองเจโล่ แอนโทนิโอนี่
· 2. LS หรือ Long Shot เป็นการถ่ายภาพระยะไกล พื้นที่ที่มากกว่าตัวละครทำให้เราใกล้ชิดกับฉากหรือทัศนียภาพมากกว่าความ รู้สึก ผลดังกล่าวทำให้ช็อตนี้มักใช้ในหนังเพื่อแสดงบรรยากาศเย็นชา หรือธรรมชาติที่ดูมีอิทธิพลเหนือผู้คน ในกรณีที่ใช้ถ่ายทำสถานที่เพื่อแนะนำเรื่องว่าเป็นฉากใด ซึ่งมักเป็นฉากเปิด งานทางด้านภาพยนตร์มักจะถ่ายฉากประเภทนี้เก็บไว้เพื่อความจำเป็นในการเล่า เรื่อง มักเรียกว่า Established Shot
· 3. MLS หรือ Medium Long Shot ช็อตที่อยู่ระหว่างระยะไกล และระยะ MS มักถ่ายเพื่อเปิดให้เห็นบุคคล กับวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไป เช่น หมู่คณะหลายคน, ภาพคนกับพื้นที่ปิด หรือพื้นที่เปิด ซึ่งก็ให้ความหมายของภาพต่างกัน
· 4. MS หรือ Medium Shot เป็นช็อตที่ได้รับความนิยมที่สุด เพราะใช้ในการดำเนินเรื่อง และสนทนา ภาพออกมาอยู่ในระดับที่สบายตา โดยธรรมชาติของช็อตแบบนี้ไม่เน้นอารมณ์ร่วมกับผู้ชม แต่เน้นให้เพื่อใช้สำหรับเล่าเรื่อง ฉากการสนทนา บ้างก็เรียกว่า Two Shot คือเป็นช็อตที่ถ่ายให้เห็นคนสองคนทั้งตัว ไปจนระดับลำตัวถึงหัว
· 5. MCU หรือ Medium Close Up กึ่งกลางระหว่าง MS กับ Close Up เป็นอีกหนึ่งช็อตที่เรามักเห็นบ่อยๆ ในการถ่ายทำภาพยนตร์สำหรับผู้ชมวงกว้าง
· 6. CU หรือ Close Up ระยะใกล้ เป็นระยะที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกตัวละครเป็นหลัก ไม่ว่าจะโกรธ เศร้า ดีใจ และใบหน้าของมนุษย์ยังแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย ช็อตนี้ตัวอย่างที่มักได้รับการกล่าวถึงบ่อยคือ City Light ของ ชาร์ลี แชปลิน ตลอดทั้งเรื่องเราเห็นอารมณ์ขันของเขาในระยะไกล หรือระยะกลางภาพ แต่เมื่อช่วงท้ายต้องการเร้าอารมณ์ตัวละครหลักได้ถูกจับภาพใบหน้าเป็นครั้ง แรก มันจึงส่งผลให้เราคล้อยตามได้
· 7. ECU หรือ Extreme Close Up ระยะใกล้มาก เป็นระยะภาพที่เน้นความรู้สึกในระดับที่สูงขึ้นกว่า CU เช่น ถ่ายภาพดวงตาในระยะประชิด หรืออวัยวะบางอย่างเพื่อแสดงอากัปกิริยาที่มีนัยยะต่างไปจากการแสดงออกอย่าง อื่น เพราะการส่งผลทางภาพที่ให้อารมณ์สุดโต่ง เราจึงมักเห็นช็อตนี้ในหนังสยองขวัญ หนังทดลอง หรือหนังทางด้านศิลปะบ่อยกว่าหนังสำหรับผู้ชมทั่วไป


ข้อดีของการบันทึกเป็นช็อต
ช็อตมุมกว้าง คือบอกให้รู้สถานที่ และให้ได้รู้ว่าเป็นงานอะไร สถานที่ที่ไหน หากว่าถ่ายเห็นป้ายของงงานเข้าไปด้วยยิ่งดี การถ่ายแบบนี้ดูเป็นเรื่องเป็นราว บอกเล่าเรื่องราวตามลำดับขั้น ว่ามีใครทำอะไรบ้างไม่ว่าจะเป็นงานพิธีหรือถ่ายกันเล่นๆ เพราะว่าภาพจะสลับมุมต่างๆมาให้ชมเป็นระยะทำให้ไม่น่าเบื่อ
ช็อตการแพน การยกกล้องขึ้นลงการซูม การเล่นมุมกล้องแบบต่างๆ หรือเล่นมุมกล้องเอียงก็ทำได้เช่นกัน แต่ว่าต้องเริ่มต้นด้วยหลักการถ่ายเป็นช็อตๆให้กระชับและไม่ยืดยาดจะทำให้คนดูไม่เบื่อ ที่มีแต่ภาพแข็งๆทื่อๆดูแล้วไม่มีชีวิตชีวา


เทคนิคการเคลื่อนที่กล้องโดยไม่ให้สั่นไหว
“การไวด์” หรือ” Wide Shot” เป็นวิธีที่ช่วยอำพรางการสั่นไหวของกล้องได้ซึ่งแม้ว่ากล้องจะสั่น ภาพจะไหว แต่ก็ยังไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่ามันมีภาพมุมกว้างที่หลอกตาอยู่ ถ้าหากต้องการที่จะเดินถือกล้องถ่ายแบบนี้ละก็ จะต้องเลือกระยะกล้องที่ไกลสุด โดยการดึงภาพด้วยการซูมออกมา เรียกว่า”ลองช็อต“(Long Shot) เป็นประคองกล้องเดินช้าๆแบบนุ่มนวล โดยไม่ต้องซูมเข้าไปอีก ควรปล่อยให้เป็นภาพมุมกว้างเข้าไว้
การเดินก็สำคัญหากมัวแต่เดินจำพรวดทิ้งน้ำหนักตัวแบบเต็มที่แบบนี้ภาพที่ได้จะกระตุกเป็นจังหวะแน่ๆก็ขอแนะนำให้การเดินถ่ายกล้องนั้นต้องระวังทุกฝีเท้า การเดินด้วยปลายเท้า เกร็งและย่อขาเล็กน้อยจะช่วยให้กล้องนิ่งและมั่นคงขึ้น ช่วยให้เดินถ่ายวิดีโอได้อย่างมีคุณภาพ ภาพที่ได้จะนิ่งการถือกล้องแบบแบกบ่า บางครั้งอาจจะไม่ถนัดสำหรับเดินถ่ายเสมอไป สามารถแก้ไขด้วยการลดกล้องมาอยู่ในมือ ในอ้อมแขนนั้นจะเป็นการดี เพราะช่วยประคองกล้องได้อีกชั้นด้วยซ้ำไป แถมอาจจะได้มุมที่แปลกตาไปจากการแบกบนบ่า
การถ่ายให้กระชับ
การถ่ายให้กระชับ หมายความว่า การถ่ายวิดีโอที่พยายามให้ภาพนั้นสื่อความหมายในตัวเองมากที่สุด โดยสามารถเล่าเรื่องราวได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร นี่จะช่วยให้เราไม่ต้องเก็บภาพมามากมายและยืดยาว ก็สามารถเข้าใจได้ว่าในเหตุการณ์นั้นๆเกิดอะไรขึ้นบ้าง


ระบบวีดีโอในปัจจุบัน
ระบบวีดีโอ มีความสัมพันธ์กับการนำไฟล์วีดีโอไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งไฟล์วีดีโอนั้นต้องนำไปเปิดกับโทรทัศน์ หรือเครื่องเล่นอื่นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าของระบบในวีดีโอในขั้นตอนการตัดต่อด้วย ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้ระบบไม่เหมือนกัน คือ
- ระบบ PAL เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง แต่การเคลื่อนไหวไม่ค่อยราบรื่น โดยมีอัตราการแสดงภาพ (Frame Rate) 25 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในหลายประเทศ โดยประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
- ระบบ NTSC เป็นระบบที่มีความคมชัดสู้ ระบบ PAL ไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวของภาพจะราบรื่นกว่าระบบPAL เพราะมีอัตราการแสดงภาพ( Frame Rate ) 29.79 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ที่ประเทศญี่ปุ่น และอเมริกา
- ระบบ SECAM เป็นระบบที่มีความคมชัดสูง การเคลื่อนไหวของภาพมีความราบรื่น มีอัตราการแสดงผล (Frame Rate ) 25 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในแถบแอฟริกา


รู้จักกับฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอประเภทต่างๆ
- AVI เป็นไฟล์มาตรฐานทั่วไปของไฟล์วีดีโอ มีความคมชัดสูง แต่ข้อเสียคือมีขนาดใหญ่ สามารถนำไปทำเป็นวีซีดี หรือดีวีดี ก็ได้ โดยผ่านกระบวนการบีบอัดไฟล์ของโปรแกรมนั้นๆ เช่น Nero , NTI
- MPEG เป็นฟอร์แมตของไฟล์วีดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากไฟล์มีขนาดเล็ก และมีคุณภาพที่หลากหลาย ตั้งแต่คมชัดที่สุด ไปถึงอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ โดยมีหลายรูปแบบดังนี้

- MPEG – 1 เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ทำวีซีดี โดยมีขนาดที่เล็กมากที่สุด – MPEG – 2 เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ทำดีวีดี โดยไฟล์มีขนาดใหญ่ (แต่ไม่เท่า AVI) แต่คุณภาพในการแสดงผลมีความคมชัดสูง – MPEG – 4 เป็นไฟล์ที่กำลังได้รับความนิยมมากชึ้น เนื่องจากมีคุณภาพในการแสดงผลใกล้เคียงกับดีวีดี แต่เป็นไฟล์ขนาดเล็ก นิยมนำไปใช้ในโทรศัพท์มือถือ , อินเตอร์เน็ต – WMV เป็นฟอร์แมตมาตรฐานของ Windows มีคุณภาพที่ดีฟอร์แมตหนึ่ง นิยมนำมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต – MOV เป็นฟอร์แมตของโปรแกรม Quick Time ที่ใช้กับเครื่อง Apple แต่สามารถเปิดในWindows ได้เช่นกัน – 3GP เป็นไฟล์ขนาดเล็ก นิยมใช้ในโทรศัพท์มือถือ
ที่มา http://kanyaporn27.blogspot.com/2015/06/blog-post_2.html

6. การตัดต่อภาพเฉพาะส่วน Photoshop CS6


การตัดต่อภาพเฉพาะส่วน

1. เตรียมรูปภาพที่จะต้องตัดต่อ มา 2 รูป





2.เปิดโปรแกรม Photoshop CS6 และ Open ไฟล์รูปภาพทั้งสองรูปภาพขึ้นมา




3.ใช้เครื่อมือที่ชื่อว่า Quick Selection Tools และค่อยๆลากตามเส้นของภาพที่ต้องการตัดต่อ




4.ไปที่ภาพที่เราต้องการวาง กด Ctrl + T เพื่อปรับขนาดรูปภาพ




5.ปรับภาพที่ตัดมาแล้วให้เข้ากับมุมมองของภาพที่ต้องการนำไปต่อ
(Image -> Adjustment->Hue/Satuation....)
(Image -> Adjustment->Vibrance...)



6.ปรับแสง-เงาของภาพและสี ให้สอดคล้องกับบรรยากาศรอบข้างของภาพที่ต้องการนำไปต่อ



ที่มา https://sites.google.com/site/photoshop9895/kar-tad-tx-phaph-chephaa-swn







5. 9 เคล็ดลับการเป็นพิธีกรมืออาชีพ


พิธีกร (Master Of Ceremony) หรือ MC

    หมายถึง ผู้ดำเนินรายการในการจัดประชุมสัมมนาหรือกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ด้วยความเรียบร้อย สร้างความประทับใจแก่ผู้เข้าร่วมงาน อีกบทบาทที่ถ้ามองเร็วๆ หลายคนจะคิดว่าบทบาทนี้อาจจะดู ไม่ต้องใช้เทคนิคอะไรมากเท่ากับการเป็นวิทยากร มี 9 ข้อ ดังนี้

1. เตรียมพร้อมสำหรับการกล่าวเปิด เริ่มต้นในรูปแบบที่เหมาะสมกับงาน (เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการ) ศึกษารูปแบบงานทั้งหมด และคิดวางแผนเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้า

2. สังเกตและทดสอบทุกอย่างก่อนเริ่มงาน ทั้งระดับเสียงจากไมค์ การจัดวางสิ่งต่างๆในงาน จังหวะก่อนหลังแต่ละขั้นตอน ต้องสอดคล้องกันไม่สะดุด

3. จำไว้ว่าคุณไม่ได้ดาวเด่นของงาน พิธีกรจะเป็นเสมือนกองหลังที่ทำให้วิทยากร และผู้เข้าฟัง ได้รับความสุข ความประทับใจผ่านการให้ความคิดเห็น คำพูดรวบรัด ชัดเจน พิถีพิถัน และแม่นยำในขั้นตอน

4. ถ้าคุณไม่ได้เป็นนักแสดงตลก ก็ไม่ต้องตลก ความผิดพลาดอันใหญ่หลวง ที่เกิดจากการคิดว่าเรื่องตลกเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความประทับใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งแท้จริงแล้วถ้าคุณไม่ใช่คนตลก อย่าฝืน! และจำไว้ว่าอารมณ์ขันเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเป็นตัวของตัวเอง จะช่วยสร้างความประทับใจได้มากที่สุด!

5. สร้างความเป็นมิตร กับวิทยากร/แขกรับเชิญ และผู้ฟังด้วยรอยยิ้มให้ติดตา น้ำเสียงที่กระตือรือร้น ไม่ทิ้งเวที

6. อยู่ในเชิงบวก เลือกใช้คำอย่างเหมาะสม แสดงถึงการคิดในเชิงบวก รวมทั้งการใช้ภาษาที่ดี เหมาะสมกับผู้ฟัง พูดแต่พอดี และให้เกียรติทุกคน

7. ควบคุมระยะเวลา มีแผนแจ้งเตือนการใช้เวลาบรรยายของวิทยากร/แขกรับเชิญ ให้งานดำเนินตามขั้นตอนที่เหมาะสม

8. ร่นสคริปท์ มีส่วนร่วมในการเขียนสคริปท์(Script) ที่มีจังหวะที่ดี หรือสามารถที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขณะที่คุณอยู่บนเวทีได้ เมื่อต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

9. บุคลิกภาพน่าประทับใจ รูปกายดี สีหน้า ผม การยืน การเดินที่มั่นคง เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับงาน การใช้สายตา มือ มีความสุขุม เยือกเย็น เป็นมิตร และร่าเริง

4. เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว



เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

การถ่ายภาพเคลื่อนไหว หมายถึง การถ่ายภาพของวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น คนวิ่ง กระโดดโลดเต้น เล่นชิงช้ากระโดดสูง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รถกำลังแล่น หรือการแข่งขันกีฬาด้านความเร็วประเภทต่าง ๆ การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว ดังกล่าวอาจจะทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ

1. การจับภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง (Stop – action)

การถ่ายภาพในลักษณะนี้ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูง เช่น 1/250, 1/500 หรือ 1/1000 วินาที ตามความเหมาะสมกับความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์ สูง ๆ จำเป็นต้องเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น เพื่อชดเชยให้แสง

การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งได้นั้น จะตั้งความเร็วชัตเตอร์เท่าใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
     1) ความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว
     2) ทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ
     3) ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ
     4) ความยาวโฟกัสของเลนส์


2. การถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวดูแล้วให้รู้สึกว่าเหมือนกำลังเคลื่อนไหว

การถ่ายภาพในลักษณะนี้ ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ ให้ช้า ๆ เช่น 1/30 วินาที, 1/15 วินาที หรือ 1/8 วินาที เป็นต้น เมื่อตั้งความเร็วชัตเตอร์ช้า ก็ต้องเปิดช่องรับแสงให้เล็กลง ภาพที่ได้จะปรากฏว่าสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวจะดูพร่า ทำให้เห็นว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่ส่วนวัตถุหรือสิ่งที่อยู่นิ่งจะคมชัด และการถ่ายภาพลักษณะนี้ควรจับถือกล้องให้นิ่งและมั่นคง หรือควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย เพื่อไม่ให้กล้องสั่นไหว

3. การถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวให้เห็นวัตถุชัด ส่วนฉากหลังพร่ามัวเป็นทางยาว

การถ่ายภาพในลักษณะนี้ จะต้อง แพนกล้อง (Paning) ตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว พร้อม ๆ กับการกดไกชัตเตอร์ ความเร็วชัตเตอร์ความตั้งให้ช้า เช่น 1/60วินาที,1/30วินาทีหรือช้ากว่าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยการปรับระยะชัดให้ปรับไปตรงจุดที่วัตถุ เคลื่อนที่ผ่าน
ที่มา  http://www.the-than.com/Gallery/ZphotoZ/19.html

3. การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ



การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ

เพื่อให้ได้ภาพถ่ายสวยงามสื่อสารได้ตามจุดประสงค์ ผู้ถ่ายต้องเลือกจัดภาพโดยยึดหลักพื้นฐานดังนี้ คือ

1. จุดและเส้น (Point & line) จุดเป็นพื้นฐานในทางศิลปทุกสาขาและเส้นก็เกิดจากการต่อกันของจุด เส้นใช้นำสายตาและแสดงการเคลื่อนไหวได้ไม่ว่าเส้นจะอยู่ลักษณะใด สามารถทำให้เกิดการเคลื่อนไหว (Dynamic) หรืออยู่กับที่ได้ที่นิยมใช้มี ดังนี้

1.1 เส้นตัวเอส S บางครั้งธรรมชาติอาจช่วยสร้างศิลปขึ้นได้ เช่น ถนนหนทาง รูปตัว S เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพอาจจะเลือกใช้ เพื่อให้ภาพถ่ายสวยงามอีกแบบหนึ่ง





ภาพถนน รูปตัว S

1.2 เส้นทะแยงมุม ในการถ่ายภาพสิ่งที่ตั้งเป็นแนวยาว ถ้าถ่ายภาพตามขวางธรรมดาจะทำให้ภาพดูแบน ๆ ไม่น่าสนใจ หากถ่ายภาพ โดยตั้งกล้องเฉียงจะได้ภาพมีลักษณะเส้นทะแยงมุมทำให้เกิดเห็นความคมชัดลึกของภาพได้ดีสวยงาม

ภาพเส้นทะแยงมุม

1.3 เส้นนำสายตา ในการถ่ายภาพอาจใช้แนวพุ่มไม้เป็นแนวนำสายตาผู้ชมเข้าไปสู่เนินสูง ๆ และหมู่ไม้เบื้องหน้าซึ่งเป็นจุดเด่นของภาพได้


ภาพเส้นนำสายตา

1.4 เส้นรัศมี การถ่ายภาพวัตถุที่มีลักษณะรูปทรงคล้ายดาวกระจายหรือรัศมีเป็นสิ่งที่ต้องยึดนำมาใช้ถ่ายภาพ โดยไม่ต้องอาศัยการแต่งเติมใด ๆ ภาพจะออกมาสวยงามได้


ภาพเส้นรัศมี

1.5 เส้นแนวนอน สร้างความรู้สึกที่สงบนิ่ง และมั่นคงให้กับภาพถ่าย การวางเส้นแนวนอน ควรให้อยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับกลางภาพ เช่น เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ต้องการแสดงพื้นที่ส่วนล่างให้เห็นได้จากระยะใกล้ถึงลึกไกล ควรให้เส้นขอบฟ้าอยู่ข้างบนประมาณ 2/3 หรือ 3/4 ของพื้นที่ของภาพ ถ้าต้องการให้ภาพดูลึกไกล แสดงเรื่องราวของท้องฟ้า มากกว่าส่วนล่างให้เส้นขอบฟ้าอยู่ข้างล่างประมาณ 1/4 หรือ 1/3 ของพื้นที่ของภาพ ถ้ามีคนรวมอยู่ด้วย หลีกเลียงไม่ให้มีเส้นแนวนอนอยู่ระดับคอหรือศรีษะของคนในภาพ

1.6 เส้นตรง หรือเส้นตั้ง แสดงถึงความแข็งแรง มั่นคง สง่างาม

1.7 เส้นโค้ง แสดงถึงความอ่อนโยน ร่าเริง เบิกบานและมีความงดงามประกอบกัน


2. รูปร่าง (Shape) องค์ประกอบส่วนมากในภาพมีลักษณะที่เป็นรูปร่างอยู่มากสามารถบอกให้รู้ว่าสิ่งนั้นมีลักษณะเช่นไร ด้วยเค้าโครงภายนอกและลักษณะรูปร่างสามารถแยกแยะวัตถุได้เด่นชัดนำมาใช้ประกอบช่วยให้ภาพมีจุดสนใจสดุดตาแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้ถึงแม้รูปร่างจะไม่แสดงมิติความลึก หนาก็ตามแต่สามารถเข้าใจในภาพได้ เช่น การถ่ายภาพคนเงาดำย้อนแสง จะเห็นลักษณะรูปร่างของคนได้อย่างดี

ภาพคนเงาดำย้อนแสง


3. รูปทรง (Form) การถ่ายทอดลักษณะรูปทรงต่าง ๆ ได้สมบูรณ์นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพทิศทางของแสง และมุมกล้องเป็นสำคัญ รูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด


3.1 รูปทรงที่มีลักษณะ แบบเรขาคณิต (Geometric Form) เช่น สี่เหลี่ยมสามเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น ซึ่ง เป็นพื้นฐานสำคัญในการถ่ายภาพให้ได้ดีและควรใช้การประสานกันของรูปทรง และสัดส่วนเหล่านี้ประกอบในการจัดภาพ เช่น จัดภาพรูปทรงสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมในการถ่ายภาพคนยืนอยู่ในกรอบหน้าต่าง หรือจัดภาพรูปทรงในการถ่ายภาพดอกกุหลาบที่มีกลิ่นดอกวกวนเป็นวงกลม เป็นต้น


ภาพการจัดภาพรูปวงกลม


3.2 รูปทรงทางธรรมชาติ (Organic Form) เป็นรูปทรงที่ให้ความรู้สึกทางโครงสร้างของการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต การนำรูปทรงชนิดนี้มาจัดองค์ประกอบจะทำให้เห็นได้ง่าย เพราะมีอยู่ในชีวิตประจำวัน

3.3 รูปทรงอิสระ (Free Form) เป็นรูปทรงที่ไม่สามารถจำแนกลักษณะได้แน่ชัดลงไป เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุดให้ความรู้สึกทางจินตนาการได้มากที่สุด เช่น รูปทรงของก้อนเมฆ กระแสน้ำ หรือก้อนหิน เป็นต้น


4. พื้นผิว (Texture) พื้นผิวจะเพิ่มความรู้สึกที่เป็นจริงขึ้นมา (Realism) บอกให้ทราบว่าสิ่งนั้น ๆ มีผิวสัมผัสเช่นไร องค์ประกอบแต่ละอย่างจะมีผิวเรียบมันหรือหยาบและมีลวดลาย สีสันแตกต่างกันออกไป เช่น ผิวของกระจกจะเรียบมัน ผิวของหินจะขรุขระ ผิวของคนชราจะเป็นริ้วรอยเหี่ยวย่น เป็นต้น การเลือกใช้พื้นผิวต่างกันมาประกอบกันทำให้ภาพดูเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่นไข่ที่มีผิวเรียบวางเด่นอยู่บนผิวขรุขระ สร้างความรู้สึกที่ขัดแย้งให้เกิดขึ้นและสดุดตามากด้วย อย่างไรก็ตามพื้นผิวจะแสดงเด่นชัดเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพ และทิศทางของแสงเป็นสำคัญ


5. ลวดลาย (Pattern) ลวดลาย คือลักษณะรูปร่างรูปทรง เส้น รวมถึงสิ่งที่ปรากฏซ้ำซ้อนเหมือนกันมาก ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อเนื่องกันหรือเรียงกันไปตามลำดับซึ่งจะพบเห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและมีขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ลวดลายอิฐบนกำแพงรั้วที่เรียงซ้อนกัน รถที่จอดเรียงรายกันหลาย ๆ คัน รถจักยานยนต์ที่เรียงกันเป็นแถว บางทีเรียกการจัดภาพถ่ายแบบนี้ว่าแบบซ้ำซ้อนนิยมใช้ประกอบเป็นโครงสร้างหลักของภาพ ช่วยเน้นองค์ประกอบสำคัญที่ต่างกัน ข้อควรระวังคือ อย่าจัดภาพให้เกิดความสับสนควรสอดแทรกจุดเด่นของภาพเอาไว้ด้วย เช่น รูปทรงของเจดีย์มีลักษณะคล้ายๆกัน และมีเณรเป็ฯจุดเด่นของภาพ

ตัวอย่างภาพลวดลาย


6. น้ำหนักสี (Tone) หรือ (Chiaroscuro) น้ำหนักความกลมกลืนของสีที่ปรากฎในภาพมีค่าแตกต่างกันเพราะมีสีอ่อนและสีเข้มต่างกัน น้ำหนักของภาพถ่ายขาว-ดำก็คือ ระดับความอ่อนแก่ของสีที่มืดที่สุดคือ สีดำและค่อย ๆ สว่างขึ้นจนสว่างที่สุด คือสีขาวและระหว่างสีดำกับสีขาวก็มีสีเทานั่นเอง ดังนั้นในการจัดองค์ประกอบเกี่ยวกับน้ำหนักสีนั้นต้องให้มีความตัดกันและกลมกลืนกันในระดับต่าง ๆ ที่พอเหมาะภาพถ่ายที่ดีควรจัดให้วัตถุมีค่าน้ำหนักแตกต่างจากฉากหลัง เพื่อเน้นวัตถุให้เด่นออกมาโดยทั่วไปการถ่ายภาพที่เกี่ยวข้องกับค่าของน้ำหนักนิยมถ่ายภาพ 2 ลักษณะคือ


6.1 ภาพสีสว่างขาว (High Key) คือภาพถ่ายที่มีลักษณะค่าน้ำหนักของสีสว่าง หรือสีขาวมาก ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกสดใส มีชีวิตชีวา สนุกสนานร่าเริง บอบบาง อ่อนหวาน


ภาพสีสว่างขาว


6.2 ภาพสีส่วนใหญ่มืดเข้ม (Low Key) คือภาพถ่ายที่มีลักษณะค่าน้ำหนักของสีมืดมากหรือสีดำมาก ให้ความรู้ที่โศกเศร้าเสียใจ ลึกลับน่ากลัวเคร่งขรึม บางภาพอาจมีค่าน้ำหนักสีส่วนที่สว่างขาวตัดกับสีมืดมาก ๆ ก็ได้ ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกที่น่าตื่นเต้นสดุดสายตา ส่วนภาพที่มีน้ำหนักสีที่กลมกลืนต่อเนื่องกัน จากสีที่เข้มในระยะฉากหน้าและจางลงไปถึงฉากหลัง หรือตรงกันข้าม คือฉากหน้าจางต่อไปถึงเข้มมากในฉากหลัง ภาพลักษณะนี้จะให้ความรู้สึกที่ลึกไกลได้

ภาพที่มีสีส่วนใหญ่มืดเข้ม

7. ช่องว่าง (Space) ในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวควรเว้นช่องว่างด้านหน้าสิ่งที่เคลื่อนไหวให้มากกว่าด้านหลัง เพื่อให้ผู้ดูรู้สึกอึดอัดและมีความรู้สึกว่าข้างหน้าเป็นทางปิดหรือตันที่วัตถุนั้นกำลังเคลื่อนไปชนเอาขอบของภาพ การจัดที่ว่างรอบ ๆ วัตถุช่วยเน้นให้วัตถุเด่นขึ้นมา โดยเฉพาะฉากหลังของภาพควรให้ว่างเปล่า ไม่สับสนวุ่นวายถ้าต้องการเน้นวัตถุ


ภาพที่เว้นช่องว่างได้เหมาะสม


8. กฎสามส่วน (Rule of Thirds) ก่อนการถ่ายภาพ ควรแบ่งบริเวณช่องมองภาพออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันทั้งในแนวตั้งและแนวนอนจุดที่เส้นตัดกันคือบริเวณที่ควรวางสิ่งสำคัญของภาพไว้ เพราะตำแหน่งดังกล่าวจะทำให้ภาพเด่นขึ้น ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุดดังเช่นจุดสำคัญของภาพคือ ใบหน้าของเด็กหญิงโดยเฉพาะคือดวงตา ซึ่งกำลังมองใบไม้ในมือซึ่งเป็นจุดสำคัญรองลงมา เพื่อให้สมบูรณ์จริง ๆ จึงให้ใบไม้และมือของเด็กหญิงอยู่ในบริเวณจุดตัดกันอีกจุดหนึ่ง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างดวงตาและใบไม้ กฎข้อนี้มีข้อยกเว้นในกรณีที่ต้องการเน้นวัตถุที่มีความสำคัญมาก ก็อาจวางวัตถุนั้นไว้กลางภาพก็ได้ เช่น ภาพถ่ายใกล้ของดอกไม้ที่ต้องการ เน้นให้เห็นกลีบดอกอย่างชัดเจนที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของภาพ


ตัวอย่างภาพที่ใช้กฏสามส่วน

9. ความสมดุลย์ (Balance) ความสมดุลย์ ได้แก่การจัดให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏในภาพ ให้มีลักษณะที่มีน้ำหนักเท่ากันทั้งสองด้านไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งนั่นคือ ให้เกิดความสมดุลย์ทั้งในด้านวัตถุ น้ำหนักของสี แสงเป็นต้น ความสมดุลย์มี 2 ประเภท คือ


9.1 ความสมดุลย์แบบเสมอภาค (Formal or Symmetrical Balance) คือการจัดให้ส่วนประกอบในภาพเหมือนกันทั้ง 2 ด้านทั้งขนาด รูปร่าง และสี
ภาพที่มีความสมดุลย์แบบเสมอภาค

9.2 ความสมดุลย์แบบไม่เสมอภาค (Informal or Asymme-trical Balance) เป็นการจัดส่วนประกอบที่มีรูปทรงและสัดส่วนไม่เหมือนกันทั้งสองด้าน น้ำหนักสีไม่เท่ากันหรือพื้นผิวไม่เหมือนกันเป็นต้น ลักษณะนี้อาจแก้ไขให้เกิดความรู้สึกสมดุลย์ขึ้นมาได้เช่นการวางวัตถุรูปทรงใหญ่ แต่มีสีอ่อน อยู่ข้างซ้ายส่วนรูปทรงเล็กแต่มีสีเข้มอยู่ด้านขวามือก็จะช่วยให้เกิดดุลย์กันได้ หรือวางตำแหน่ง ของวัตถุที่มีขนาดใหญ่ อยู่ใกล้จุดกึ่งกลางภาพมากกว่าวัตถุอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็ก หรือสีที่มีความสดใส เช่น สีแดง สีส้ม มีพื้นที่น้อยกว่าสีที่มีความสงบ เช่น สีฟ้า หรือสีขาว หรือพื้นผิวขรุขระ มีบริเวณน้อยกว่าพื้นผิวเรียบ เป็นต้น การจัดภาพลักษณะนี้ ต้องการให้แลดูดึงดูดความสนใจ และมีอิสระเสรีในการถ่ายภาพได้มาก
==ภาพที่มีความสมดุลย์แบบไม่เสมอภาค==


10. มุมกล้อง (Camera Angle) ภาพที่เลือกใช้มุมกล้องต่างกันถึงแม้จะเป็นวัตถุสิ่งของอย่างเดียวกันแต่จะมีผลต่อความคิด การสื่อความหมาย และอารมณ์แตกต่างกันโดยทั่วไปมุมกล้องแบ่งเป็น 3 ระดับคือ

10.1 ภาพระดับสายตา (Eye-level Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งขนานกับพื้นดิน ในระดับเดียวกันกับสายตา ให้ความรู้สึกเป็นปกติธรรมดา
ภาพระดับสายตา
10.2 ภาพมุมต่ำ (Low Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าวัตถุที่ถ่าย ให้ความรู้สึกบ่งบอกถึงความสูงใหญ่ สง่าผ่าเผย มีอำนาจ ทรงพลัง เป็นต้น

10.3 ภาพมุมสูง (High Angle) เป็นการถ่ายภาพที่กล้องอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าวัตถุที่ถ่าย ให้ความรู้สึกบ่งบอกถึงขนาดเล็กความต่ำต้อยไม่สำคัญ หมดอำนาจวาสนาเป็นต้น

การเปลี่ยนมุมภาพแต่ละครั้ง ควรพิจารณาถึงผลดี ผลเสียก่อนกดชัตเตอร์ เช่น ถ้าถ่ายภาพผู้หญิงด้วยมุมต่ำ และระยะใกล้เกินไป จะทำให้รูปทรงของใบหน้าผิดสัดส่วนไม่สวยงาม จะเห็นคอสั้น คางใหญ่ จมูกบานกว้าง ใบหน้าแคบแหลม เป็นต้น เมื่อเลือกมุมภาพได้แล้วต้องคำนึงถึงลักษณะทิศทางของแสงด้วย


11. กรอบของภาพ (Framing) บางครั้งการถ่ายภาพ โดยการนำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาทำให้เกิดเป็นกรอบภาพขึ้นมา จะช่วยให้ภาพนั้นน่าดูยิ่งขึ้น เช่นการนำกิ่งไม้มาเป็นกรอบหน้าประกอบภาพพระพุทธรูปและเจดีย์ในเมืองโบราณที่สุโขทัยหรือการถ่ายภาพสามเณรกำลังกวาดลานวัดโดยถ่ายจากข้างในโบสถ์ให้ประตูโบสถ์เป็นกรอบ จะช่วยให้ภาพมีคุณค่ามีมิติ และความลึกน่าสนใจขึ้น


ภาพที่มีกรอบภาพ
12. พลัง (Power) ในบางครั้งการถ่ายภาพจะแสดงถึงพลังในตัวของมันเองออกมาทำให้ภาพเพิ่มความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหวที่ตั้งกล้องให้เห็นเส้นในแนวทะแยงมุม การส่ายกล้องตามสิ่งที่เคลื่อนไหวที่ทำให้ฉากหลังไม่ชัดแต่วัตถุชัดเจน พร้อมแสดงออกถึงพลังการเคลื่อนไหวของสิ่งนั้นตลอดจนการถ่ายภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้า เช่น นักแข่งกำลังปั่นจักรยานด้วยความเร็วสูงเพื่อแสดงให้เห็นพลังการเคลื่อนไหว
ภาพที่มีพลัง
13. เอกภาพ (Unity) คือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบต่าง ๆ โดยยึดถือความสัมพันธ์กันในภาพ เชื่อมโยงประกอบกันจนอยู่ในลักษณะหลอมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหนึ่งเดียว ในการถ่ายภาพต้องคำนึงถึงจังหวะในการถ่ายระยะความใกล้ไกลและต้องทำให้เกิดความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่บันทึกลงในภาพถ่ายนั้น
ภาพที่มีความเป็นเอกภาพ

14. ความเรียบง่าย (Simplification) ความเรียบง่ายสามารถผลิตรูปภาพให้มีอิทธิพลได้ เช่น รูปภาพสถานีเตือนภัยในทะเลที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศพระอาทิตย์กำลังตกดินมีคลื่นกระทบฝั่งมีฉากหลังน้ำทะเล การจัดภาพไม่สลับซับซ้อนลักษณะนี้ทำให้บอกเรื่องราวได้ นอกจากนั้นอาจนำการจัดภาพอื่น ๆมาประกอบด้วย เช่นความสมดูลย์ ความกลมกลืนในภาพ (Harmonious Picture) เป็นต้น
ภาพที่มีความเรียบง่าย

15. ส่วนเกิน หรือสิ่งที่ทำให้ภาพขาดคุณภาพไป (Merger) ก่อนการกดชัตเตอร์ทุกครั้งควรพิจารณาฉากหลัง หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดีเสียก่อนระวังอย่าให้ปรากฏสิ่งที่ไม่ต้องการเกิดขึ้นในภาพ โดยเฉพาะสิ่งที่จะทำให้ภาพเสียไป เช่นโคมไฟที่งอกขึ้นกลางศีรษะของหญิงสาว ทำให้ภาพเสียไปอย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้ อาจมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพ ให้ภาพน่าดู น่าชม มีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักถ่ายภาพแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษาจากผลงานของคนอื่น ๆ น่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
ที่มา https://photop.wikispaces.com/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E

2.มุมมองภาพ

มุมมองภาพ

                จุดดูภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์และจอโทรทัศน์ ผู้กำกับจะกำหนดว่า
จะเสนอภาพจากมุมใด คือให้ผู้ดู มองเห็นภาพจากมุมใดจึงจะน่าสนใจและสมจริง
กับเรื่องราวที่เสนอ มุมมองภาพหรือที่นิยมเรียกว่ามุมกล้องโดยทั่ว
ไปจะประกอบด้วย 3 มุม ได้แก่
1.ภาพมุมสูง (High Angle)
                ตั้งกล้องถ่ายภาพยนตร์และโทรทัศน์ไว้สูงกว่าวัตถุ ถ้าเป็นภาพสถานที่กว้างฃ

ใหญ่ การถ่ายภาพไกลจากมุมสูงทำให้เห็นภาพได้กว้างไกล เป็นการเปิดฉากแนะนำสถาน
ที่ได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเป็นการถ่ายคน จะเป็นการเสนอให้เห็น
ว่าคนๆ นั้นไม่สำคัญ เป็นคนต่ำต้อย ไม่สง่าผ่าเผย


2. ภาพมุมระดับสายตา (Eye Level Angle)
                    ภาพมุมระดับสายตาเป็นภาพที่ตั้งกล้องในระดับสายตาของคน หรือของวัตถุ

ที่ถูกถ่าย ภาพในระดับสายตาเพื่อสื่อความหมายว่าภาพที่ปรากฏจะเป็นภาพให้ความรู้สึก 
 ธรรมดา ไม่เด่นอะไร


3. ภาพมุมต่ำ (Low Angle)
                    ภาพมุมต่ำเป็นภาพที่ตั้งกล้องถ่ายในระดับต่ำกว่าคนหรือวัตถุที่ถูกถ่าย เป็นภาพ

ที่แหงนดู สื่อความหมายหรือให้เกิดความรู้สึกว่าคนหรือวัตถุที่ถูกถ่ายมีความสำคัญ มากกว่า
ปกติ น่าเคารพ ถือนับ
ที่มา  https://sites.google.com/site/photo263318/mum-mxng-phaph

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

1.รู้จักโปรแกรม Adobe Premiere Pro

รู้จักโปรแกรม Adobe Premiere Pro

            รู้จักกับโปรแกรมตัดต่อ Adobe Premiere Pro


      “Adobe Premiere Pro” หรือ “Premiere Pro” เป็นโปรแกรมในการตัดต่อไฟล์วิดีโอ (Video). ไฟล์ภาพ(Image)และไฟล์เสียง(Audio) เพื่อนามาประกอบกันเป็นภาพยนตร์ โดยเป็นหนึ่งโปรแกรมตระกูล Adobe ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตัวโปรแกรมมีประสิทธิภาพและความสามารถที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งหน้าตาของโปรแกรมที่พัฒนาให้ใช้ได้ง่ายขึ้น จนถึงเวอร์ชันที่เรียกว่า “Adobe Premiere Pro CS6” ที่มีการเพิ่มฟังก์ชันการทางานที่ทาให้การปรับแต่ง การตัดต่อ ใส่เอฟเฟ็กต์ และการ Export ชิ้นงานรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถสร้างรองรับไฟล์วิดีโอในฟอร์แมตที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งยังรองรับระบบปฏิบัติการได้ทั้ง Windows และ Mac ทาให้โปรแกรมเปิดกว้างและทางานได้เกือบจะทุกแพลตฟอร์ม
รูป หน้าต่างโปรเจ็กต์ที่ครอบคลุมชิ้นงานทั้งหมดที่สร้างขึ้น

คำศัพท์ที่ใช้บ่อยใน Adobe Premiere Pro

  โปรแกรม Premiere Pro จะมีศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกองค์ประกอบในหน้าต่างการทำงาน รวมไปถึงส่วนย่อยที่เราจะต้องพบบ่อยๆ ดังต่อไปนี

    1. โปรเจ็กต์ (Project) หมายถึง ไฟล์งานที่เราสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการตัดต่อ โดยแต่ละไฟล์จะมีข้อมูลวิดีโอ ภาพ เสียงมากมายที่เราเป็นผู้กำหนด และทำการเก็บไฟล์นั้นไว้ในรูปแบบโปรเจ็กต์ ซึ่งจะครอบคลุมชิ้นงานทั้งหมดของเรา
    2.  คลิป (Clip) หมายถึง ไฟล์ต่าง  ที่เรานาเข้ามาใช้งานในโปรเจ็กต์เพื่อตัดต่อ ตกแต่งให้เป็นชิ้นงานของเรา ได้แก่ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพ และไฟล์เสียง ซึ่งเมื่อถูกนำเข้ามาแล้วเราจะเรียกว่าคลิปวิดีโอภาพและคลิปเสียง แทนคำว่าไฟล์
    3.  แทร็ก (Track) หมายถึง เลเยอร์ในพาเนล
Timeline ที่ใช้สาหรับวางคลิปต่าง ๆ เพื่อการตัดต่อ โดยจะแยกเก็บคลิปเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ แทร็กวิดีโอ (Video Track) และแทรกเสียง (Audio Track) ซึ่งแต่ละแทร็กจะมีชื่อประจาเป็นตัวเลขตามหลังแทร็กนั้น ๆ สามารถเพิ่มและลดแทร็กได้ตามความต้องการ เลเยอร์ต่าง ๆ บน Timeline เราจะเรียกว่า “แทร็ก
    4.  เฟรม (Frame) หมายถึง ช่องเล็ก ๆ แต่ละช่องที่แสดงอยู่บนพาเนล Timeline ซึ่งในช่อง ๆ หนึ่งจะแสดงภาพวิดีโอ 1 ภาพที่ประกอบอยู่ในคลิป โดยจะเรียงภาพเหล่านั้นต่อกันไปเรื่อยๆ เหมือนกับฟิล์มถ่ายหนัง ให้เกิดภาพเคลื่อนไหว โดยจานวนของเฟรมจะแสดงด้วยตัวเลขในส่วนหัวของพาเนล Timeline และด้านล่างของพาเนล Monitor
ช่องต่าง ๆ ที่แสดงอยู่บนพาเนล Timeline เราจะเรียกช่องเหล่านี้ว่า “เฟรม

      5. ซีเควนซ์ (Sequence) หมายถึงลาดับหรือส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ที่เรียงกันเป็นเรื่อง ซึ่งใน Premiere Pro ได้นาเอาคานี้ใช้เรียกแท็บย่อยสาหรับจัดลาดับคลิปในพาเนล Timeline ว่า “ซีเควนซ์
ที่มา http://premierepro6.blogspot.com/2014/10/2-adobe-premiere-pro.html